ปัญหาน้ำทะเลท่วมกัดเซาะชายฝั่งในเมืองไทย

“​หลักเขตที่​ 28-29 ​ของกทม​. ​ตอนนี้ย้ายสำ​มะ​โนครัวไปลอยเด่น​อยู่​กลางอ่าวมาหลายปี​แล้ว​ ​ชนิดที่ฝรั่งมา​เห็นก็​ยัง​งง​ ​คิดว่า​เป็น​สิ่งมหัศจรรย์ของเมืองไทย​ ​จนผมว่าน่า​จะ​จัด​เป็น​แหล่งเที่ยวแห่ง​ใหม่​ของบางขุนเทียนซะ​เลย​ ​ต่อไป​ถ้า​ใคร​จะ​มา​เยี่ยมชมก็​ให้​เอาพวงมาลัยมา​ไหว้​ด้วย​”

​ปัญญา​ ​ช้างเจริญ​ ​อดีต​ผู้​ใหญ่​บ้าน​และ​กำ​นันเขตบางขุนเทียน​ ​พูดพลางชี้​ให้​ดู​เสาหลักเขต​ ​กทม​. ​ที่บัดนี้ถูกยกขึ้นสูงเหนือน้ำ​ ​พร้อมบอกว่า​ ​หลักเขตต้นนี้​เคย​อยู่​บนบก​ ​แต่หลัง​จาก​ถูกคลื่นกัดเซาะนานวัน​เข้า​ ​ทำ​ให้​แผ่นดินหายไปกว่า​ 1 ​กิ​โลเมตร​ ​เสาหลักเขต​จึง​ลงมา​อยู่​ใน​ทะ​เล​ ​เช่นเดียว​กับ​ชาวบางขุนเทียน​ ​ที่​ต้อง​เผชิญ​กับ​การกัดเซาะชายฝั่งที่รุกคืบ​เข้า​ถึง​บ้านเรือนที่​เคยสร้าง​อยู่​บนบก​ ​แต่​ใน​ช่วง​ 30 ​ปีมานี้​ ​น้ำ​ทะ​เล​ได้​เข้า​มา​เปลี่ยนวิถีชีวิตทำ​ให้​ชาวแผ่นดิน​ ​ต้อง​กลาย​เป็น​ชาวน้ำ​แบบจำ​ยอม​ ​ไม่​เพียงแค่ชายฝั่งบางขุนเทียน​ ​ของ​ ​กทม​.​ที่​เจอ​กับ​ธรรมชาติ​เล่นงาน​ ​แต่ชาวบ้านโคกขาม​ ​และ​ชาวบ้านพันท้ายนรสิงห์​ ​จังหวัดสมุทรสาคร​ ​ก็ประจักษ์​แล้ว​ว่าพื้นที่ป่าชายเลนผืน​ใหญ่​ ​ที่​เคย​เป็น​ปราการป้อง​กัน​คลื่นลม​ ​และ​เป็น​แหล่งอนุบาลตัวอ่อนสัตว์น้ำ​ตลอด​ความ​ยาว​ 41 ​กิ​โลเมตรของสมุทรสาคร​ ​ตอนนี้ถูกธรรมชาติรุกรานจนส่งผล​ให้​แผ่นดินหายไปกว่าปีละ​ 1-5 ​เมตร​ ​และ​ส่งผล​ให้​บัดนี้​เหลือป่า​อยู่​ไม่​ถึง​ 10,000 ​ไร่​ ​เท่า​นั้น​ !!
“​ภาพถ่ายทางอากาศ​ใน​ปี​ 2517 ​ชี้​ให้​เห็นแนวป่าชายเลนสมบูรณ์กว่า​ 1 ​แสนไร่​ ​แต่ผ่านมา​แค่​ 22 ​ปี​ ​ป่า​เหลือเพียงเส้นบางๆ​ ​ตามแนวขอบ​ ​ทำ​ให้​เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง​ ​ซึ่ง​เป็น​ผลพวงมา​จาก​การออกเอกสารสิทธิ​ให้​ชาวบ้านครอบครองป่าชายเลน​ใน​แถบสมุทรสาคร​ ​เพื่อนำ​ไปทำ​นากุ้ง​ ​นา​เกลือ​ ​จนดินเสื่อมโทรม​ ​ป่าหายไปหมด​ ​และ​ยัง​มีชุมชนที่ปล่อยน้ำ​เสียลงมาทะ​เล​ ​ทำ​ให้​ ​ระบบนิ​เวศน์​เสียหาย​ ​ชาวบ้านจับสัตว์น้ำ​ได้​น้อยลง​”
ลุงนรินทร์​ ​บุญร่วม​ ​อดีตเลขาธิการสมาคมด้านการประมงสมุทรสาคร​ ​ที่พลิกชีวิตมาทำ​หน้าที่​แกนนำ​ชาวบ้านนำ​ร่อง​ใช้​ธรรมชาติสู้ธรรมชาติ​ ​สรุป​ถึง​สภาพปัญหาที่​เกิดขึ้น​ ​พร้อมว่า​จาก​วิกฤติที่ชาวบ้านกำ​ลังเผชิญหน้า​อยู่​นี้​เอง​ ​ชาวบ้านหมู่​ 3 ​และ​ 8 ​ต​.​โคกขาม​ ​หมู่​ 8 ​ต​.​พันท้ายนรสิงห์​ ​และ​หมู่​ 2 ​ต​.​บางหญ้า​แพรก​ ​และ​โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์​ ​จึง​ร่วม​กัน​คิดหาทางออก​และ​วิธี​เยียวยาธรรมชาติขึ้น​ ​ภาย​ใต้​โครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติมหาชัยฝั่งตะวันออก​ ​ตามแนวพระราชดำ​ริ​เศรษฐกิจพอเพียง​ ​และ​การพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อสรุปคือ​ ​ชาวบ้าน​จะ​ร่วม​กัน​ต่อสู้​โดย​เอา​แรงกายแรงใจ​เป็น​เดิมพัน​ ​และ​เป้าหมายสูงสุด​อยู่​ที่การป้อง​กัน​การกัดเซาะชายฝั่ง​ ​การ​ได้​แผ่นดินงอกกลับมา​ ​เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน​ ​และ​จัดสรรพื้นที่​เป็น​แหล่งอนุรักษ์สัตว์ทะ​เล​ ​และ​การทำ​ความ​เข้า​ใจเรื่องการ​ใช้​เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย

ขั้นตอน​และ​วิธีการทำ​งาน​นั้น​ ​สมชาย​ ​ดวงล้อมจันทร์​ ​แกนนำ​กลุ่มอนุรักษ์​โคกขาม​-​พันท้ายนรสิงห์​ ​บอกว่า​ ​วันหนึ่ง​เขา​ไปนั่ง​อยู่​บนสะพาน​และ​เห็นไม้​ไผ่ที่ปัก​อยู่​ใน​น้ำ​ 1 ​ลำ​ ​แหวกน้ำ​ออก​เป็น​ 2 ​ข้าง​ ​จึง​กลับมานั่งคิดว่า​ถ้า​ไม้​ไผ่หลายลำ​ก็น่า​จะ​ลดแรงเฉื่อยของน้ำ​ได้​ ​และ​ยิ่ง​ถ้า​ปัก​เป็น​หลายๆ​ ​ชั้น​ ​นอก​จาก​จะ​ชะลอกระ​แสน้ำ​กว่า​จะ​เข้า​ถึง​ฝั่ง​ได้​แล้ว​ ​ยัง​ทำ​ให้​เลนตกตะกอนท้ายแนวไม้​ ​ตอนนี้​เมื่อเริ่มมาหลายปี​โดย​ใช้​พื้นที่หน้าบ้านของตัวเองก็พบว่านอก​จาก​จะ​หยุดการกัดเซาะ​ได้​แล้ว​ ​ยัง​มีดินเลนงอกขึ้นมาสำ​หรับปลูกป่าชายเลน
“​ตอนนี้​เรากำ​ลังขยายผลไป​ยัง​หน้าบ้านของชาวบ้าน​ใน​อ่าวมหาชัยคนละ​ 5 ​ไร่​ ​โดย​ใช้​เทคนิคง่ายๆ​ ​ปักไม้​ไผ่​เลี้ยงหอยห่าง​จาก​ฝั่ง​ 2 ​กิ​โลเมตร​ ​จาก​นั้น​ปักไผ่​เป็น​แนวสามเหลี่ยม​ ​ช่วย​เบรกคลื่นก่อน​ถึง​ฝั่ง​ ​จึง​ต้อง​เลือกไม้ที่สูงเกิน​ 5 ​เมตรขึ้นไป​ ​และ​มี​ความ​แข็งแรงทน​อยู่​ใน​น้ำ​ได้​ 4-5 ​ปี​ ​ลึก​เข้า​ไป​ 100 ​เมตรก็ปลูกป่าชายเลนเสริม​ ​ถ้า​ถามว่า​จะ​ได้​ผล​เร็ว​หรือ​ช้า​ ​ตอนนี้ผมมองว่า​แค่หยุดปัญหากัดเซาะ​ไป​ได้​ 100 ​เมตรก็ดีกว่าปล่อย​ให้​ทะ​เลพัง​เข้า​มา​เรื่อยๆ​ ​ที่สำ​คัญชาวบ้าน​ยัง​ได้​แหล่งทำ​มาหากินกลับมา​ ​ปู​ ​ปลาที่​เคยหายไปก็​เริ่มกลับมา​เยอะขึ้น​ ​ซึ่ง​ถือ​เป็น​บทเรียนที่ชาวบ้าน​ต้อง​จดจำ​”

นายสำ​ราญ​ ​รักชาติ​ ​รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะ​เล​และ​ชายฝั่ง​ (ทช​.) ​กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ​และ​สิ่งแวดล้อม ​บอกว่า​ ​ไม่​เพียงแค่​ 2 ​จังหวัดของอ่าวไทยตอน​ใน​รูปตัว​ ​ก​.​ที่​ต้อง​เผชิญ​กับ​ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง​ ​แต่ทุกจังหวัดชายฝั่งทะ​เล​ 23 ​จังหวัด​ทั้ง​ฝั่งอ่าวไทย​ ​และ​ฝั่งอันดามันก็​เจอ​กับ​ปัญหานี้​เช่น​กัน
จาก​การสำ​รวจชายฝั่งทะ​เลด้านอ่าวไทย​ ​บริ​เวณชายฝั่งทะ​เลภาคตะวันออก​จาก​ ​จ​.​ตราด​ ​จน​ถึง​บริ​เวณชายฝั่งทะ​เลชายแดนภาค​ใต้​ ​จ​.​นราธิวาส​ ​รวม​ 17 ​จังหวัด​ ​ซึ่ง​มี​ความ​ยาวชายฝั่งทะ​เล​ทั้ง​สิ้น​ 1,653 ​กิ​โลเมตร​ ​ชายฝั่งทะ​เลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะรุนแรง​ทั้ง​สิ้น​ 180.9 ​กิ​โลเมตร​ ​คิด​เป็น​พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะ​ ​ประมาณ​ 56,531 ​ไร่
ส่วน​ชายฝั่งทะ​เลอ่าวไทยตอนบน​ ​ตั้งแต่ปากแม่น้ำ​บางปะกงจน​ถึง​ปากแม่น้ำ​แม่กลอง​ ​ครอบคลุมพื้นที่​ 5 ​จังหวัด​ ​ได้​แก่​ ​ฉะ​เชิงเทรา​ ​สมุทรปราการ​ ​กรุงเทพมหานคร​ ​สมุทรสาคร​ ​และ​สมุทรสงคราม​ ​มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะ​เล​ ​คือ​ ​ประมาณ​ 35 ​เมตรต่อปี​ ​ชายฝั่งทะ​เล​ ​บริ​เวณนี้ถูกกัดเซาะ​ทั้ง​สิ้น​เป็น​ระยะทางยาวประมาณ​ 82 ​กิ​โลเมตร​ ​คิด​เป็น​พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะ​ไป​แล้ว​ทั้ง​สิ้น​ 18,594 ​ไร่​ ​ใน​ช่วง​ 30 ​ปีที่ผ่านมา
“​ได้​รับอนุมัติงบ​ 41 ​ล้านบาท​ ​ใน​โครงการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง​ ​ร่วม​กับ​ชาวบ้าน​ใน​เขต​ 5 ​จังหวัดนำ​ร่อง​ใช้​วิธีธรรมชาติ​ ​สู้​กับ​ธรรมชาติ​ ​ด้วย​การปลูกป่าชายเลน​ ​ชาวบ้าน​ได้​พยายามคิด​ค้น​กัน​ขึ้นมาตามภูมิปัญญาท้องถิ่น​ ​เช่น​ ​การปักไม้​ไผ่ลดกระ​แส​ความ​แรงของคลื่น​ ​และ​ทำ​ให้​เกิดตะกอนดินเพิ่มขึ้น​” รองอธิบดี ​กล่าว

ที่มา http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=News&file=article&sid=257