Geranun.com
Travel Blogger : Tripadviser ตะลอนทีวี
  • ร้านอาหาร
  • ซอสพริก
  • ร้านอาหาร
  • ซอสพริก
  • Home
  • /
  • reviews

สิบสุดยอดภัยออนไลน์ ที่ควรบอกต่อ..

อ่านข่าวจากเดลินิวส์ เห็นแล้วควรเอามาเผยแพร่ต่อครับ

iphone-first-look-vid-top

เทรนด์ไมโคร จัดอันดับ 10 ภัยร้ายออนไลน์ช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา มีทั้งคลิกลิงก์สแปม ดาวน์โหลดไฟล์ หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว รวมถึงส่วนลดให้ซื้อของถูก

นายเจค โซเรียโน ฝ่ายสื่อสารด้านเทคนิค ศูนย์วิจัยข้อมูลเทรนด์แล็บส์ เปิดเผยว่า อาชญากรไซเบอร์จะใช้เทคนิคกลลวงทางสังคมที่แตกต่างกันเพื่อหลอกล่อเหยื่อ เช่น การคลิกลิงก์ที่เป็นสแปม ดาวน์โหลดไฟล์ หรือการกรอกแบบฟอร์มโดยใส่ข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเงินแก่อาชญากรไซเบอร์ ซึ่งพยายามจะหาผลประโยชน์ช่วงเทศกาลวันหยุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ที่เข้าไปซื้อสินค้าและบริการผ่านเว็บไซต์

โดย เทรนด์ ไมโคร ได้จัดทำสรุป 10 อันดับภัยร้ายออนไลน์ที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงวันหยุด ดังนี้

อันดับ 10 ภัยลวงนักล่าของถูก : อาชญากรไซเบอร์จะใช้ส่วนลดและโปรโมชั่นเพื่อหลอกล่อเหยื่อให้คลิกลิงก์ที่ เป็นอันตราย หรือใส่ข้อมูลที่เป็นความลับของตนลงในเว็บไซต์หลอกลวง โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ล่อเหยื่อจะเป็นสินค้ายอดนิยมและสินค้าขาย ดี ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้อดใจไม่ได้ที่จะคลิกลิงก์ที่ปรากฏ และในปีนี้เทรนด์ ไมโคร พบว่าโทรจัน TROJ_AYFONE.A ใช้ประโยชน์จากการเปิดตัวแอปเปิล ไอโฟน โดยมัลแวร์จะแสดงในรูปแบบโฆษณาลวงเหมือนกับการสร้างเว็บไซต์ลวงของร้านค้า ออนไลน์ที่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้

อันดับ 9 ไซต์การกุศลจอมปลอม ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว ไฟป่า น้ำท่วม ล้วนถูกอาชญากรไซเบอร์นำมาใช้ประโยชน์เพื่อหลอกลวง โดยเฉพาะเทศกาลวันหยุดเป็นช่วงเวลาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เกิดความ รู้สึก “อยากทำบุญและต้องการบริจาค” อยู่แล้ว ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับ อาชญากรไซเบอร์ที่จะบรรลุตามแผนการที่วางไว้ นอกจากผู้ใจบุญที่ตอบกลับข้อความอีเมล ลวงหรือเว็บไซต์ลวงซึ่งไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใดแล้ว ยังจะต้องสูญเสียเงินหรือข้อมูลที่เป็นความลับไปแทนอีกด้วย

อันดับ 8 บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (อีการ์ด) : อาชญากรไซเบอร์มักจะใช้บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีการ์ดเพื่อล่อลวงเหยื่อให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตรายในข้อความสแปม และนั่นอาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อตกอยู่ในอันตรายได้ การโจมตีประเภทนี้มักใช้ประโยชน์ของเทศกาลวันหยุด เมื่อมีผู้ใช้ส่งอีการ์ดมากขึ้น และคาดหวังว่าอีการ์ดที่ได้รับนั้นจะมาจากเพื่อนหรือญาติสนิท

อันดับ 7 โฆษณามัลแวร์ (Malver tisements) : อาชญากรไซเบอร์จะใช้โฆษณาและโปรโมชั่นของปลอม (เลียนแบบโฆษณาของจริง) เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ โดยอาศัยความเชื่อใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่มักสนใจเรื่องสินค้าราคา พิเศษ โฆษณาที่แสดง อยู่ในเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมสูงจะถูกใช้เป็นตัวกระตุ้นให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ โดยเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น Google, Expedia.com, Rhapsody.com, Blick.com และแม้แต่มายสเปซ มักถูกใช้เป็นที่แฝงตัวของแบนเนอร์โฆษณาที่เป็นอันตราย ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปดูก็จะดาวน์โหลดมัลแวร์ลงในระบบของผู้ใช้งานได้แสดงให้ เห็นว่าโฆษณาที่เป็นอันตรายเหล่านี้ถูกฝังตัวอยู่ในแทบจะทุกแห่งบนโลกไซ เบอร์

อันดับ 6 ผลการค้นหาแหล่งชอปปิงช่วงคริสต์มาส : ผลลัพธ์คำตอบที่มากับสคริปต์ที่เป็นอันตราย ทำให้เกิดภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น มัลแวร์ ฟิชชิ่งไซต์ ยูอาร์แอลอันตราย โดยผู้เขียนมัลแวร์จะเลือกช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่จะนำผู้ใช้งานไปยังผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายของตนได้ ในปี พ.ศ. 2550 ผลของการค้นหาคำว่า “Christmas gift shopping” ถูกพบว่านำไปสู่มัลแวร์หลากหลายชนิดที่เป็นอันตราย และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลของการค้นหาคำว่า “Halloween costumes” ถูกพบว่าแอบซ่อนซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของปลอมไว้

อันดับ 5 เว็บไซต์สุดฮิต : จัดเป็นภัยคุกคามสำหรับผู้ใช้ออนไลน์ เพราะเป้าหมายหลักของการติดเชื้อจะเกิดขึ้นบนเว็บ ไซต์ที่คาดว่าปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวันหยุดเทศกาลที่กำลังจะมาถึง ซึ่งผู้ซื้อนิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ เช่น ร้านอาหารออนไลน์ เว็บไซต์ประมูล หรือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ อาชญากรไซเบอร์จะแพร่กระจายเชื้อไปยังเหยื่อโดยการเลือกเว็บไซต์ยอดนิยม และมีการเข้าชมสูง

อันดับ 4 ข้อมูลส่วนบุคคล – บัตรของขวัญและโปรโมชั่น (ของปลอม) : ผู้ใช้ที่ชอบค้นหาของฟรีหรือโปรโมชั่นพิเศษบนเว็บนั้นเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ในลักษณะนี้ได้ แบบสำรวจข้อมูลที่ดูเหมือนจะปลอดภัยนี้มักจะถูกใช้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยของรางวัล บัตรของขวัญ หรือแม้แต่เงินสดจะถูกใช้เพื่อล่อเหยื่อให้กรอกแบบสำรวจของปลอม โดยที่เหยื่อจะไม่ทราบว่านั่นคือ ฟิชชิ่งไซต์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขโมยข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ
อันดับ 3 อีคอมเมิร์ซฟิชชิ่ง : อีเบย์ (eBay) ถูกจัดอันดับให้เป็นร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2550 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 124 ล้านคน และอีเบย์ยังติดอันดับสูงสุดของเว็บไซต์ที่แฮก เกอร์นิยมใช้ทำเป็นเว็บไซต์ลวงด้วย นับจากการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล จนถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออาชญากรไซเบอร์จะใช้แผนการที่ชาญฉลาดเพื่อ ให้ได้ข้อมูลของผู้ใช้เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ทางการเงิน

อันดับ 2 โทรจันที่มาพร้อมใบรับสินค้า (ของปลอม) : ข้อความต่าง ๆ จากผู้จัดส่งสินค้ายอดนิยม ซึ่งแจ้งทางอีเมลว่าไม่สามารถส่งมอบของให้ผู้รับได้ พร้อมแนบไฟล์ข้อมูลที่ดูเหมือนเป็นใบแจ้งหนี้ แต่ จริง ๆ แล้วเป็นข้อความสแปมที่จะล่อลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งโทรจันลงในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ปัญหาดังกล่าวค่อนข้างแยกแยะลำบาก สำหรับนักช้อปออนไลน์ที่กำลังรอการจัดส่งสินค้าในช่วงเทศกาล ทั้งนี้ยูพีเอส และเฟดเดกซ์ เป็นตัวอย่างของบริษัทผู้จัดส่งสินค้าที่อาชญากรไซเบอร์นิยมใช้เป็นเหยื่อ ล่อผู้ซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด

อันดับ 1 ใบแจ้งราคาสินค้า (ปลอม): บางครั้งผู้ใช้งานอาจจะได้รับข้อความอีเมล ที่แจ้งให้พวกเขาเปิด และพิมพ์ “ใบแจ้งราคาสินค้า” ที่ได้แนบมา ไฟล์ที่แนบมานั้นไม่ใช่ใบแจ้งราคาสินค้าของจริง แต่ว่าเป็นโทรจัน ผู้ที่ซื้อสินค้าออนไลน์บ่อย ๆ จะได้รับใบแจ้งราคาสินค้าอยู่แล้ว และถือเป็นเป้าหมายหลักของภัยคุกคามประเภทนี้ แต่ในทางกลับกันผู้ใช้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ และแน่ใจว่าไม่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้าใด ๆ ก็อาจจะสงสัยและเปิดไฟล์แนบท้ายดังกล่าว สแปมก็จะแพร่กระจายไปทั่ว ล่าสุดที่พบคือหนอนไวรัส WORM_ OTORUN.C ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือผู้ซื้อสินค้าออน ไลน์จึงต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้นระหว่างเลือกซื้อสินค้า ออนไลน์.

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to share on Pinterest (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Tumblr (Opens in new window)

Related

Posted on มกราคม 12, 2010 by Geranun®. This entry was posted in reviews and tagged การตลาด, ข้อคิด. Bookmark the permalink.
October Sonata ศิลปะที่ไม่ตลาด
Foo Bar และ Bar Camp งานในฝันของหลายๆคน
    http://talongin.com/
    Google+
    A social enterprise คืออะไร
    SINGHA PARK SOCIAL ENTERPRISE IN THAILAND

    Top Posts & Pages

    • iPhone iPad เปิดไม่ติด ปัญหานี้มีวิธีแก้ง่ายๆ ครับ
    • บทสวดมนต์​​​เช้า​​​และ​​​ก่อนนอน ​ฉบับ​ย่อแต่ครอบคลุม
    • น้ำดื่ม และเรื่องน้ำประปาญี่ปุ่นดื่มได้
    • คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร
    • ประวัติเบียร์ลีโอ ที่ไม่มีใครเคยรู้ โดย คุณฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์
    • ประวัติ โลโก้ดั้งเดิมของ เบียร์สิงห์ Oldest Singha Beer Logo in Thailand
    • ตำราอัฐกาล
    • โศลกของท่านเว่ยหล่าง
    • พระคาถาธารณปริตร บทสวดมนต์เช้า และก่อนนอน ฉบับป้องกันภัย
    • เกร็ดโหร : เกณฑ์อุดมเกณฑ์

    เรื่องล่าสุด

    • ตามรอยการ์ตูน Conan ที่ Miyajima
    • ตะลอนกิน Miyajima HIROSHIMA และร้านอาหาร ueno anagomeshi
    • Matsue ภูมิภาคชูโกกุ เมืองแห่งการชุมนุมเทพเจ้า
    • น้ำท่วมโลก (บางส่วน) ฤาจะไม่ไกลจากที่เราคิด
    • รีวิว Lebua No.3 บรรยากาศความ hi ของคอกเทลบาร์ที่สูงที่สุดในโลก
    • ร้านอาหาร ก้าวสู่ มิชลินสตาร์ 2 ดาว
    • แว่น Oakley Limited Edition by Element72 “TP12 SINGHA MOTORSPORT x OAKLEY”
    • 10 เรื่องน่ารู้ของ ซอสพริก Todd
    • ซอสพริกอเนกประสงค์ที่อยากแนะนำให้ทดลอง “Made by Todd ซอสพริกพริก”
    • Sumida River Fireworks Festival Family Trip
    • Miyamoto Musashi Memory Trip
    • “Shock The G shock” G-shock Party งานรวมพลเหล่า G shock collectors 2017
    • Balancing Rocks เป็นก้อนกรวด อย่าไปอวดว่าเป็นเพชร
    • ขอกราบแทบเบื้องพระยุคลบาท น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

    ป้ายกำกับ

    Android Apple Coke Doraemon facebook Horo ios iPad ipad เปิดไม่ติด iPhone Manga Marketing Mobile Movies news Singha slamdunk Social Enterprise social enterprises social enterprise thailand social media Tezuka Ozamu thailand Todd Piti การตลาด การปฏิบัติธรรม การ์ตูน การ์ตูนญี่ปุ่น กาลชะตา กำลังใจ ข้อคิด ความรัก ตะลอนกิน ตะลอนตามรอยการ์ตูน ตะลอนทีวี ธรรมะ ธรรมะก่อนตาย ฤกษ์ เที่ยวญี่ปุ่น เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง เที่ยวญี่ปุ่นแบบประหยัด แฟนพันธุ์แท้ โดราเอมอน โหราศาสตร์ โหราศาสตร์ เลข 7 ตัว
    http://talongin.com/
    Google+


    Follow Me on Pinterest

Top Posts & Pages

  • iPhone iPad เปิดไม่ติด ปัญหานี้มีวิธีแก้ง่ายๆ ครับ
  • บทสวดมนต์​​​เช้า​​​และ​​​ก่อนนอน ​ฉบับ​ย่อแต่ครอบคลุม
  • น้ำดื่ม และเรื่องน้ำประปาญี่ปุ่นดื่มได้
  • คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร
  • ประวัติเบียร์ลีโอ ที่ไม่มีใครเคยรู้ โดย คุณฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์
  • ประวัติ โลโก้ดั้งเดิมของ เบียร์สิงห์ Oldest Singha Beer Logo in Thailand
  • ตำราอัฐกาล
  • โศลกของท่านเว่ยหล่าง
  • พระคาถาธารณปริตร บทสวดมนต์เช้า และก่อนนอน ฉบับป้องกันภัย
  • เกร็ดโหร : เกณฑ์อุดมเกณฑ์

ทักทายกัน

เป็นบลอกเกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทาง ไดอารี่ เรื่องราว และมุมมองส่วนตัวนะครับ

ยินดีที่แวะมาเยี่ยมเยือนกัน แวะมาพูดคุยกันได้ที่เพจ ส่งข้อความ ได้ที่เพจกินเที่ยวญี่ปุ่นครับ

จีระนันท์

Powered by