Green Crude

Green Crude แหล่งพลังงานจากสาหร่ายสีเขียวกำลังมาแรง

ทั่วโลกต่างมุ่งหา แหล่งพลังงานทดแทน ชนิดใหม่ ที่ไม่ทำลายธรรมชาติ เนื่องจากพืชหลายตัวที่นำมาใช้ทำเอทานอล และไบโอดีเซล เดิมเป็นพืชเศรษฐกิจ ทำให้มีกระทบมาก

ปัจจุบันตัวพืชตั้งต้นในการผลิต กำลังไปจบลง ที่สาหร่าย เนื่องจากตัวเซลล์ของสาหร่าย เป็น แหล่งสะสมพลังงานชีวมวลมากมาย ทั้งแป้ง พอลิแซ็กคาไรด์ น้ำมัน

ซึ่งสามารถ นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้ อาทิ ไบโอดีเซล เอทานอล ไฮโดรเจน อีกทั้งการเพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็วจึงไม่ต้องกังวลว่า จะขาดแคลนแหล่งเชื้อเพลิงในอนาคต

ส่วนในประเทศไทย ล่าสุด ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ออกมาประกาศความเป็นไปได้ ในการนำสาหร่าย มาผลิตเป็นก๊าซไฮโดรเจน เอทานอล โดยเลือกสาหร่ายกว่า 1,000 ชนิด ใน 2 กลุ่ม คือ สาหร่ายกลุ่มสีน้ำเงินแกมเขียว และกลุ่มสีเขียว ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืดที่พบได้ในประเทศไทย

เบื้องต้นพบว่า สาหร่ายกลุ่มนอสโตคาเลส (Nostocales) ตัวเซลล์มีการสะสมของแป้ง และพอลิแซ็กคาไรด์สูง ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำมาผลิต เป็นเอทานอล และไฮโดรเจน

การเพาะเลี้ยงทำได้ง่าย ให้อยู่ในภาชนะใส สามารถสังเคราะห์แสงได้

การเพาะเลี้ยงทำได้ง่าย ให้อยู่ในภาชนะใส สามารถสังเคราะห์แสงได้

สาหร่ายกลายเป็นทางเลือกที่ต้องจับตามอง เพราะไม่เพียงเติบโตเร็ว ดูแลง่าย ปราศจากมลพิษ และยังสามารถเพาะเลี้ยงได้ดีในพื้นที่ ที่มีแสงแดดมาก เพราะเป็นพืชน้ำที่อาศัยการสังเคราะห์แสง ในการเจริญเติบโต โดยการดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เป็นอาหาร และคายก๊าซออกซิเจนออกมา

จากการทดลองพบว่าในระยะเวลาที่เท่าๆกัน และในพื้นที่ที่เท่ากันกับ ไร่ข้าวโพด หรือไร่อ้อย จะสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่าย มาใช้ผลิตได้ 5-10 เท่า ในขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่มีปัจจัยแฝง

การผลิตสาหร่ายเพื่อใช้งานคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว และคงไม่มีใครนึกถึงว่าจะเจอทางออกของการใช้แหล่งพลังงานที่เร็ว และง่ายได้ขนาดนี้

การผลิตสาหร่ายเพื่อใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม คืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว และคงไม่มีใครนึกถึงว่าจะมาเจอทางออก ของการใช้แหล่งพลังงานที่เร็ว และง่ายในการผลิต รวมถึงไม่มีวันหมดได้ขนาดนี้ ทั่วโลกกำลังตื่นตัวครับ

ในบ้านเราก็ตอนนี้ มี ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ นักวิชาการศูนย์จุลินทรีย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่กำลังเดินหน้าอย่างจริงจังครับ สามารถทำได้ แต่ยังต้องคำนวนจุดที่ลงตัวในภาคธุรกิจ

ส่วนอีกด้านทาง ดร.รัตนภรณ์ ลีสิงห์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ก็ได้เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่อง “การคัดเลือกสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กจากแหล่งน้ำจืดใน จ.ขอนแก่น เพื่อใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพทดแทน” ว่า จากการศึกษา สาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก ในแหล่งน้ำจืดใน จ.ขอนแก่น โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พบในบึงสีฐาน ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยพบว่า มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชพลังงาน โดยน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กนี้ สามารถ นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลได้ โดยภายหลังการค้นพบ ได้ตั้งชื่อสาหร่าย ชนิดนี้ว่า KKU- S2

คราวนี้ใครที่ลงทุนไปกับปาลม์น้ำมัน สบู่ดำ ฯลฯ ทำไงล่ะเนี่ย !!